มีการใช้งานไอโอที หรือ อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) อย่างแพร่หลายตั้งแต่ในอดีตและในอนาคต ในอดีตมีการใช้งานในกลุ่มเครื่องจักรกับเครื่องจักร (Machine to Machine หรือ M2M) ในอุตสาหกรรมต่างๆ และความนิยมก็ได้แพร่มากขึ้นในปัจจุบันหลายสู่ภาคธุรกิจต่างๆนอกเหนือจากในกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะขนาดวงจรมีขนาดเล็กลงใช้กำลังไฟฟ้าลดลง และมีราคาหรือต้นทุน (TCO ทั้ง CAPEX และ OPEX) ที่เข้าถึงได้ จึงใช้งานอย่างกว้างขวางมากขึ้นเช่น บ้านอัจฉริยะ (Smart Home), เกษตรแม่นยำ (Smart Farm), ระบบอัจฉริยะด้านพลังงานหมุนเวียน โดยมีการใช้ในระบบโซล่าร์เซลล์และกังหันลม ในการติดตามประสิทธิภาพของระบบเช่น กำลังการผลิตไฟฟ้า สูบน้ำ เป็นต้น
ส่วนระดับมหภาคในหลายๆประเทศนั้น เอ็นบี-ไอโอที(NB-IoT) ได้มีการใช้ในการให้บริการต่างๆเช่น การอ่านมิเตอร์อัจฉริยะ (IMR หรือ Intelligent Meter Reading) ซึ่งใช้กับไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซ, การเชื่อมต่อยานพาหนะ เพื่อทำให้เป็นรถยนต์อัจฉริยะ (Connected Car), การติดตามสินทรัพย์ (Asset Tracking), ระบบเช่าจักรยานในเมือง ในมหาวิทยาลัย, ตู้กดเงินอัตโนมัติ เป็นต้น ซึ่งจัดอยู่ในการประยุกต์ใช้งานของเครือข่ายสื่อสารแบบกว้างที่เน้นใช้พลังงานต่ำ (Low Power Wide Area หรือ LPWA)
มาตราฐานเอ็นบี-ไอโอที (NB-IoT) ได้กำหนดโดย 3GPP Release 13 ซึ่งได้สรุปในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2559 ที่ผ่านมา และยังได้มีการพัฒนาต่อเนื่องให้รองรับใน 5G อีกด้วย ซึ่งคาดว่าจะประหยัดพลังงานขึ้น รับ/ส่งข้อมูลและตอบสนองเร็วมากขึ้นอย่างเป็นสาระสำคัญ และมีระบบการเชื่อมต่อที่แม่นยำขึ้น (รายละเอียด 5G จะกล่าวในบทความหน้า ซึ่งมาตราฐาน 5G ได้ประกาศเมื่อปีนี้โดย 3GPP ใน Release 15 หรือ Rel-15 3GPP ซึ่งก็ได้ตั้งเป้าแล้วว่าภายในเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2562 จะประกาศมาตราฐาน 5G เฟส 2 หรือ 3GPP Rel-16 5G phase 2 ออกมา ทั้งนี้การจะได้ใช้งาน 5G นั้นอาจต้องพิจารณาในส่วน การประกาศกฎระเบียบ จัดสรรความถี่ในประเทศไทยของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจมาเร็วกว่า พ.ศ. 2563 ก็เป็นไปได้)
มาทำความรู้จักกับ สถาปัตยกรรมระบบเอ็นบี-ไอโอที (System Architecture of Narrowband-IoT)
NB-IoT ทำได้โดยอาศัยช่องสัญญาณเดิม หรือ อินแบนด์ (in-band) ซึ่งเป็นการใช้รีซอร์ซบล็อก (resource blocks) ของคลื่น LTE หรือ 4G ปกติทั่วไป หรือใช้ส่วนที่เป็นการ์ดแบนด์ (guardband) ของคลื่น LTE ก็ได้
ในส่วนของการจัดสรรคลื่นให้ NB-IoT โดยเฉพาะก็สามารถทำได้เช่นกันแต่อาจสิ้นเปลืองและลงทุนไม่คุ้มค่านัก
สรุปข้อดีของระบบ NB-IoT
- สามารถใช้ได้เป็นบริเวณกว้างและไกลจากสถานีฐาน
- กินไฟน้อย
- ราคาย่อมเยาว์ เข้าถึงได้
- ช่องสัญญาณรองรับการใช้งานในปริมาณมากๆ จึงไม่เกิดอาการใช้ช้าหรือใช้ไม่ได้เหมือนใช้อินเตอร์เน็ตบนมือถือในช่วงเวลาที่คนใช้มากๆ (congestion)
พบกับบทความเรื่องคลื่นความถี่ NB-IoT ในตอนถัดไป
สอบถามทางไลน์คลิก: https://line.me/R/ti/p/%40drgreen
โทร: 0926382229 , 0926382723 , 0926382366 , 0926382350 , 025781559
line id: @drgreen
เข้าชมได้ที่: www.drgreenenergy.com